วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

การพูดต่อประชุมชน

การพูดต่อประชุมชน
ความหมายของการพูดต่อประชุมชน
                การพูดต่อประชุมชนหรือการพูดในที่สาธารณะ หมายถึง การติดต่อสื่อสารที่เป็นไปอย่างมีระบบ โดยใช้วิธีการสื่อความหมายด้วยการพูดและอากัปกิริยาท่าทาง เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้ฟัง หรือเพื่อให้เกิดมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรม หรือการประพฤติปฏิบัติของผู้อื่น ข้อควรคำนึงที่สำคัญที่สุดในการพูดต่อประชุมชนคือสารที่พูดออกไป ต้องไม่ใช่เรื่องที่เป็นความลับ หยาบโลน หรือกล่าวพาดพิงถึงผู้อื่นในทางเสียหาย เรื่องล้อเลียนให้เป็นที่อับอาย

การอ่านตีความ

การอ่านตีความ
              การอ่านตีความหรือวินิจสาร คือการอ่านเพื่อให้ทราบความหมายที่ซ่อนเร้น หรือความคิดที่สำคัญของเรื่อง   การตีความมักเป็นไปตามประสบการณ์และความรู้สึกของแต่ละคน  การตีความควรประเมินค่าและบอกได้ว่าสิ่งไหนมีความดีด้านใดและบกพร่องในส่วนใด ควรพิจารณาถึงรูปแบบและจุดประสงค์ในการเขียนแล้วจึงชี้ข้อดีข้อบกพร่องโดยพิจารณาให้เหมาะสมกับประเภทของการเขียนนั้นๆ  

วรรณกรรมปัจจุบัน

วรรณกรรมปัจจุบัน มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Contemporary Literature   คือ วรรณกรรมที่มีลักษณะต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพราะรับอิทธิพลจากวรรณกรรมหรือแนวคิดของชาวตะวันตก มีขอบข่ายคลุมถึงวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น สารคดี นวนิยาย เรื่องสั้น ร้อยกรอง บทละคร และบทวิจารณ์วรรณกรรม  นวนิยายแปลเรื่องแรกของไทย คือ ความพยาบาทของแม่วัน  นวนิยายไทยเรื่องแรกคือ ความไม่พยาบาท ของครูเปรื่อง  ส่วนเรื่องสั้นเรื่องแรก คือ เรื่องสนุกนิ์นึก ของกรมหลวงพิชิตปรีชากร

การเขียนบทความ

              บทความ  หมายถึง เรื่องที่ให้สาระ ข้อเท็จจริง ความรู้ เสนอความคิดเห็น บทความในหนังสือพิมพ์จะมีลักษณะที่น่าสังเกตคือ จะมีเนื้อหาไม่ยาวมากนัก ใช้ย่อหน้าสั้นๆ นำเรื่อง ที่รู้ๆ กันอยู่แล้วมาตีพิมพ์ หรือนำเรื่องเล็กๆ ที่คนมองข้ามมาเติมสีสันให้น่าอ่าน   บทความเป็นความเรียงที่มีลักษณะพิเศษ  เป็นความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีพื้นฐานข้อเท็จจริง มีมูลเหตุมาจากเรื่องราว ข่าวสารที่ผู้เขียนแทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือเชิงสร้างสรรค์ขึ้น

การพูด

ความหมายของการพูด
              การพูดเป็นพฤติกรรมการสื่อสารที่ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ผู้พูดสามารถใช้ทั้งวจนภาษาและอวัจนภาษาในการส่งสารติดต่อไปยังผู้ฟังได้ชัดเจนและรวดเร็ว
               การพูด หมายถึง การสื่อความหมายของมนุษย์โดยการใช้เสียง และกิริยาท่าทางเป็นเครื่องถ่ายทอดความรู้ความคิด และความรู้สึกจากผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง การพูดที่ดีคือการใช้ถ้อยคำ น้ำเสียงรวมทั้งกิริยาอาการอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามจรรยามารยาทและประเพณีนิยมของสังคมเพื่อถ่ายทอดความคิดความรู้ ความรู้สึกและความต้องการที่เป็นประโยชน์ ให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดการตอบสนองสัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายของผู้พูด

การสร้างคำในภาษาไทย

การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยมีการสร้างคำด้วยวิธีการต่าง ๆ นักเรียนจะได้ศึกษาจากใบงาน


ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ ---> PDF  

ชนิดของคำไทย

ชนิดของคำไทย แบ่งออกเป็น ๗ ชนิด 
อ่านเพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ ---> PDF

ใบความรู้เรื่องการโน้มน้าวใจ

ใบความรู้เรื่องการโน้มน้าวใจ
                                                                                                                        
ความหมายของการโน้มน้าวใจ
                 การโน้มน้าวใจ คือ การใช้ความพยายามที่จะเปลี่ยนความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยมและการกระทำของบุคคลอื่น ด้วยกลวิธีที่เหมาะสมให้มีผลกระทบใจบุคคลนั้น จนเกิดการยอมรับและยอมเปลี่ยนตามที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการ

ใบความรู้เรื่อง การแสดงทรรศนะ

ใบความรู้เรื่อง การแสดงทรรศนะ
                                                                                                                        
การใช้ภาษาแสดงทรรศนะ        
              ทรรศนะ คือ ความคิดเห็นที่ประกอบด้วยเหตุผล

ใบความรู้ เรื่องการใช้ภาษาแสดงเหตุผล

เหตุผล หมายถึง ความคิดอันเป็นหลักทั่วไปกฎเกณฑ์ รวมทั้งข้อเท็จจริง ที่สนับสนุนข้อสรุป ข้อวินิจฉัย ข้อตัดสินใจ หรือข้อยุติ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เนื่องจากเราใช้ เหตุผล ในการสนับสนุน ข้อสรุป เราอาจจะเรียก เหตุผล ว่าข้อสนับสนุนก็ได้ และข้อสรุป เป็นคำกลาง ๆ เป็นศัพท์เฉพาะ ที่เกี่ยวกับการแสดงเหตุผล ในภาษาที่ใช้กันอยู่ตามปกตินั้นอาจเรียกว่า ข้อสังเกต,การคาดคะเน, คำวิงวอน, ข้อคิด, หรือการตัดสินใจ ก็ได้



ใบความรู้เรื่องประโยค

ประโยค หมายถึงข้อความที่มีเนื้อความบริบูรณ์ มีความหมายชัดเจน สามารถสื่อความหมายกันได้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วนคือ ภาคประธาน และภาคแสดง

การเขียนโครงการ

โครงการ หมายถึง แผนการดำเนินกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไข ปรับปรุงหรือพัฒนางานให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่กำหนด โดยมีวัตถุประสงค์  เป้าหมาย และกำหนดเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดชัดเจน เช่น โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย  โครงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งแต่ละโครงการจะประกอบด้วยกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อปรับปรุง แก้ไข และพัฒนางานนั้นๆ

การเขียนบันทึกการประชุม

บันทึกการประชุมหรือรายงานการประชุม หมายถึงการบันทึกความคิดเห็น ของผู้มาประชุมและมติของที่ประชุม ตามระเบียบของทางราชการเรียกบันทึกการประชุมว่า รายงานการประชุม  การเขียนรายงานการประชุมต้องใช้ตามรูปแบบระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ 

หลักเกณฑ์ในการเขียนบรรณานุกรม

หลักเกณฑ์ในการเขียนบรรณานุกรม
๑.  ก่อนถึงหน้าบรรณานุกรม ต้องมีหน้าบอกตอนว่า "บรรณานุกรม"
.ในรายงานที่ใช้เอกสารอ้างอิงไม่มากนัก การเรียงลำดับไม่ยุ่งยากให้ใช้คำว่า "หนังสืออ้างอิง"
๓. เรียงรายชื่อบรรณานุกรมตามลำดับอักษรผู้แต่ง
อ่านต่อจากเอกสารและดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ ---> PDF

ความหมายของเชิงอรรถ

ความหมายของเชิงอรรถ

                เชิงอรรถ หมายถึง ข้อความที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า คำหรือข้อความที่มีอยู่ในบทความข้างต้นนั้น มีความหมายว่าอะไร หรือนำมาจากเรื่องใด ของใคร

การเขียนรายงานทางวิชาการ

การเขียนรายงานทางวิชาการหมายถึงการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ  สำรวจรวบรวม หรือวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วน มีเหตุผล และอ้างอิงหลักฐานที่มาอย่างมีระบบแบบแผนแน่นอน  อาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นคณะ

                การเขียนรายงานทางวิชาการนี้การอ้างอิงหลักฐานที่มาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก  จะต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ถูกต้อง ชัดเจน

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Keemaster | Bloggerized by Keemaster