วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

การพูดต่อประชุมชน

การพูดต่อประชุมชน
ความหมายของการพูดต่อประชุมชน
                การพูดต่อประชุมชนหรือการพูดในที่สาธารณะ หมายถึง การติดต่อสื่อสารที่เป็นไปอย่างมีระบบ โดยใช้วิธีการสื่อความหมายด้วยการพูดและอากัปกิริยาท่าทาง เพื่อเพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้ฟัง หรือเพื่อให้เกิดมีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรม หรือการประพฤติปฏิบัติของผู้อื่น ข้อควรคำนึงที่สำคัญที่สุดในการพูดต่อประชุมชนคือสารที่พูดออกไป ต้องไม่ใช่เรื่องที่เป็นความลับ หยาบโลน หรือกล่าวพาดพิงถึงผู้อื่นในทางเสียหาย เรื่องล้อเลียนให้เป็นที่อับอาย

การอ่านตีความ

การอ่านตีความ
              การอ่านตีความหรือวินิจสาร คือการอ่านเพื่อให้ทราบความหมายที่ซ่อนเร้น หรือความคิดที่สำคัญของเรื่อง   การตีความมักเป็นไปตามประสบการณ์และความรู้สึกของแต่ละคน  การตีความควรประเมินค่าและบอกได้ว่าสิ่งไหนมีความดีด้านใดและบกพร่องในส่วนใด ควรพิจารณาถึงรูปแบบและจุดประสงค์ในการเขียนแล้วจึงชี้ข้อดีข้อบกพร่องโดยพิจารณาให้เหมาะสมกับประเภทของการเขียนนั้นๆ  

วรรณกรรมปัจจุบัน

วรรณกรรมปัจจุบัน มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Contemporary Literature   คือ วรรณกรรมที่มีลักษณะต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพราะรับอิทธิพลจากวรรณกรรมหรือแนวคิดของชาวตะวันตก มีขอบข่ายคลุมถึงวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น สารคดี นวนิยาย เรื่องสั้น ร้อยกรอง บทละคร และบทวิจารณ์วรรณกรรม  นวนิยายแปลเรื่องแรกของไทย คือ ความพยาบาทของแม่วัน  นวนิยายไทยเรื่องแรกคือ ความไม่พยาบาท ของครูเปรื่อง  ส่วนเรื่องสั้นเรื่องแรก คือ เรื่องสนุกนิ์นึก ของกรมหลวงพิชิตปรีชากร

การเขียนบทความ

              บทความ  หมายถึง เรื่องที่ให้สาระ ข้อเท็จจริง ความรู้ เสนอความคิดเห็น บทความในหนังสือพิมพ์จะมีลักษณะที่น่าสังเกตคือ จะมีเนื้อหาไม่ยาวมากนัก ใช้ย่อหน้าสั้นๆ นำเรื่อง ที่รู้ๆ กันอยู่แล้วมาตีพิมพ์ หรือนำเรื่องเล็กๆ ที่คนมองข้ามมาเติมสีสันให้น่าอ่าน   บทความเป็นความเรียงที่มีลักษณะพิเศษ  เป็นความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีพื้นฐานข้อเท็จจริง มีมูลเหตุมาจากเรื่องราว ข่าวสารที่ผู้เขียนแทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือเชิงสร้างสรรค์ขึ้น

การพูด

ความหมายของการพูด
              การพูดเป็นพฤติกรรมการสื่อสารที่ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ผู้พูดสามารถใช้ทั้งวจนภาษาและอวัจนภาษาในการส่งสารติดต่อไปยังผู้ฟังได้ชัดเจนและรวดเร็ว
               การพูด หมายถึง การสื่อความหมายของมนุษย์โดยการใช้เสียง และกิริยาท่าทางเป็นเครื่องถ่ายทอดความรู้ความคิด และความรู้สึกจากผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง การพูดที่ดีคือการใช้ถ้อยคำ น้ำเสียงรวมทั้งกิริยาอาการอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามจรรยามารยาทและประเพณีนิยมของสังคมเพื่อถ่ายทอดความคิดความรู้ ความรู้สึกและความต้องการที่เป็นประโยชน์ ให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดการตอบสนองสัมฤทธิ์ผลตามจุดมุ่งหมายของผู้พูด

การสร้างคำในภาษาไทย

การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยมีการสร้างคำด้วยวิธีการต่าง ๆ นักเรียนจะได้ศึกษาจากใบงาน


ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ ---> PDF  

ชนิดของคำไทย

ชนิดของคำไทย แบ่งออกเป็น ๗ ชนิด 
อ่านเพิ่มเติมและดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ ---> PDF

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Keemaster | Bloggerized by Keemaster